ด่วน ประกันสังคม แจ้งข่าว กลุ่มที่ได้เงินเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ก็คือ หากออกจากประกันสังคม มาตรา 33 แล้วไปส่งเงินสมทบต่อในประกันสังคม มาตรา 39 จะทำให้บํานาญประกันสังคม ม.39 ที่จะได้รับยามเกษียณอาจหายไปเกินครึ่ง เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกันตน ม.39 ที่เคยส่งเงินสมทบตาม ม.33 มาตลอดหลายปี ดังนั้น สำนักงานประกันสังคมจึงปรับสูตรบำนาญใหม่ในแบบ CARE (Career-Average Revalued Earnings) หรือเฉลี่ยตลอดชีวิตการทำงาน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ใครจะได้รับประโยชน์จากส่วนนี้บ้าง มาศึกษารายละเอียดกัน
เช็กบำนาญประกันสังคมสูตรเดิมตามสูตรบำนาญชราภาพแบบเดิม หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และถ้าใครจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ก็จะได้บำนาญบวกเพิ่มขึ้นไปอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน หรือ 1 ปี (เศษของเดือนไม่นับ)
อย่างไรก็ตาม สูตรนี้ทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างระหว่างผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 อย่างเห็นได้ชัด เพราะในการคำนวณค่าจ้างเฉลี่ยผู้ประกันตนมาตรา 33 จะคิดที่ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท แต่หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จะคิดที่ฐานเงินเดือน 4,800 บาท
ในทางกลับกัน หากเราลาออกจากงานแล้วไม่สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เงินบำนาญชราภาพที่ได้รับจะอยู่ที่ 4,125 บาท/เดือน เท่ากับว่าเมื่อสมัครประกันสังคม มาตรา 39 เงินบำนาญที่ควรจะได้รับกลับลดลงไป 60-70%
ประกันสังคม มาตรา 39 จะได้เงินบำนาญลดลงอย่างมาก จึงเกิดการผลักดันเงินบำนาญชราภาพสูตรใหม่ที่เรียกว่า CARE ขึ้นมา โดยคิดคำนวณเงินชราภาพ ดังนี้
1. ไม่ได้คำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเหมือนเดิม แต่คำนวณจากฐานเงินเดือนเฉลี่ยที่ส่งจริงตลอดอายุการทำงาน แปลว่า ยิ่งส่งมาก ยิ่งได้มาก
2. นำเงินสมทบทั้งหมดตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงเกษียณมาคำนวณ ทั้งช่วงที่อยู่ในประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39
4. กรณีส่งเงินสมทบเกิน 15 ปี (180 เดือน) จะได้บำนาญบวกเพิ่มอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน โดยสูตรใหม่ให้นับเศษเดือนด้วยเพื่อได้เงินบำนาญบวกเพิ่มขึ้นไปอีก เช่นหากส่งเงินสมทบ 25 ปี 6 เดือน ถ้าใช้การคำนวณสูตรเก่าจะคิดเป็น 25 ปี เราจะได้เงินบำนาญ 35% ของค่าจ้างเฉลี่ย (ไม่นับเศษ 6 เดือน) แต่สำหรับบำนาญสูตรใหม่จะนับเศษ 6 เดือน เท่ากับได้รับบำนาญ 35.75% ของค่าจ้างเฉลี่ย
บํานาญประกันสังคม คิดยังไง
อย่างที่กล่าวไว้ว่า วิธีคิดบำนาญประกันสังคมสูตรใหม่ไม่ได้คิดแค่ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายแล้ว แต่นำฐานเงินเดือนเฉลี่ยตลอดระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบมาคำนวณตัวอย่าง : ส่งเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 มาแล้ว 15 ปี จากนั้นลาออกและส่งเงินสมทบมาตรา 39 ต่ออีก 5 ปี รวมแล้วส่งเงินสมทบ 20 ปี
วิธีคิดบำนาญ คือ นำฐานเงินเดือนมาตรา 33 (15,000 บาท) มาคูณจำนวนปีที่ส่งเงินสมทบมาตรา 33 (15 ปี) แล้วบวกกับฐานเงินเดือนมาตรา 39 (4,800 บาท) คูณกับจำนวนปีที่ส่งเงินสมทบมาตรา 39 (5 ปี) จากนั้นหารด้วยจำนวนปีที่ส่งเงินสมทบทั้งหมด (20 ปี)
เท่ากับ (15,000*15) + (4,800*5) / 20 = 12,450 บาท
โดยเราจะได้เงินบำนาญร้อยละ 20% ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย (12,450) และบวกเพิ่มอีก 1.5% ในทุกปีที่ส่งเงินสมทบเกิน 15 ปี ดังนั้น เมื่อเราส่งเงินสมทบ 20 ปี จึงได้รับบำนาญในอัตรา [20+(1.5*5)] =27.5% จากเงิน 12,450 บาท เท่ากับได้รับบำนาญเดือนละ 3,423.75 บาท
แต่หากใช้การคำนวณแบบสูตรเดิม จะได้รับบำนาญเพียงเดือนละ 1,320 บาทเท่านั้น